|
|
|
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองอินทร์บุรี สามารถอนุมาน ได้ว่าพื้นที่ตำบลทับยาอาจจะมีการตั้งรกราก
มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ทั้งนี้เนื่องจากตำบลทับยาอยู่ไม่ไกล
จากแหล่งโบราณคดีคูเมืองมากนัก การตั้งรกรากของชุมชนโบราณน่าจะอิงอยู่กับแม่น้ำ ทั้งนี้เนื่องจากแม่น้ำเปรียบได้ดั่ง
เส้นเลือดใหญ่ของชุมชน ประชาชนต้องพึ่งพาแม่น้ำในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการอุปโภคบริโภค
เพื่อการเกษตร การคมนาคม และอื่นๆ ดังนั้น ในพื้นที่
แห่งนี้จึงมีประชาชนอาศัยตลอดมา |
|
|
|
ถึงแม้ในบางช่วงเวลา
ก็อาจจะถูกกวาดต้อนเป็นเชลยสงครามไปบ้าง เนื่องจากเป็นเส้นทางการเดินทัพ เป็นพื้นที่เมืองหน้าด่าน
ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี |
ที่มาของชื่อ“ทับยา”มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ดั้งเดิมชื่อ“ทัพหย่า” ซึ่งหมายถึงการหย่าทัพ หรือการเลิกทัพนั่นเอง ก่อนที่จะมีการเพี้ยนเสียง จนกลายเป็น
ทับยาในที่สุด ชื่อของทัพหย่า เป็นชื่อเรียกสถานที่ที่อ้างอิงถึงความเป็นมาของสถานที่ที่พม่าหย่าทัพ เป็นเหตุการณ์ในสมัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310
และเรื่องราววีรกรรมชาวบ้านบางระจัน ทั้งนี้ก็เพราะตำบลทับยามีทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านบางระจันนั่นเอง |
|
|
|
|
|
เทศบาลตำบลทับยา ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบล
เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทับยา เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
และต่อมาได้รับการยกฐานะ
เป็นเทศบาลตำบลทับยา ตามประกาศกระทรวง มหาดไทย เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 |
|
|
|
|
|
สำนักงานเทศบาลตำบลทับยา ตั้งอยู่ติดถนนสิงห์บุรี-ชัยนาท ตั้งอยู่เลขที่ 12 หมู่ที่ 5 ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี 16110 ห่างจากตัวอำเภออินทร์บุรี
ประมาณ 6 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 24.27 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
ความหมายของ “ตราสัญลักษณ์” เส้นขอบวงรูปวงกลมของตราสัญลักษณ์ 2 วงคู่กัน มีความหมายถึงความกลมเกลียวรักใคร่
สามัคคีของชาวทับยาและเทศบาลตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ภาพภายในวงกลม ประกอบด้วย |
วัด สื่อความหมายถึง พื้นที่ตำบลทับยา มีโบราณสถาน จำนวน 6 วัด 1 สำนักสงฆ์ โดยทุกวัดจะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต การตั้งรกรากของชุมชนในอดีต ที่ชีวิตประจำวันจำเป็นต้องพึ่งพิงน้ำ |
|
|
|
ทั้งการเดินทาง การติดต่อสื่อสาร การซื้อ
ขายแลกเปลี่ยน ดังนั้น “วัด” จึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวตำบลทับยา และแต่ละวัดมีประวัติความเป็นมาที่ยาว
นาน เป็นที่สักการะบูชาของชาวประชาชนตำบลทับยาและคนทั่วไป |
รวงข้าว สื่อความหมายถึง สภาพภูมิศาสตร์ของตำบลทับยาเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองชลประทานและแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน
ที่เหมาะแก่การเกษตร การปลูกข้าว จึงเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวทับยาที่ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตมาตั้งแต่สมัยอดีตกาลจนถึงปัจจุบัน
ทำให้พื้นที่ตำบลทับยามีข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ |
อิฐ สื่อความหมายถึง อิฐมอญของตำบลทับยา ซึ่งเป็นอิฐที่ตลาดงานก่อสร้างมีความต้องการมาก เนื่องจากดินที่ตำบลทับยา
เป็นดินที่เหมาะกับการทำอิฐ โดยอิฐจะมีความสวยและแกร่ง จะเห็นได้ว่าพื้นที่ตำบลทับยามีโรงอิฐถึง 11 แห่ง สามารถสร้างอาชีพและ
รายได้กับประชาชนชาวทับยาอีกอาชีพหนึ่งนอกจากอาชีพเกษตรกรรม |
|
|
|
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.อินทร์บุรี |
ต.ห้วยชัน |
อ.อินทร์บุรี |
จ.สิงห์บุรี |
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.บางกระบือ |
อ.เมือง |
จ.สิงห์บุรี |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.อินทร์บุรี |
อ.น้ำตาล |
จากกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา |
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.แม่ลา |
อ.บางระจัน |
สิงห์บุรี |
|
|
ต.อินทร์บุรี และต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี |
ต.แม่ลา อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี |
|
ต.อินทร์บุรี และต.น้ำตาล จากกึ่งกลาง
แม่น้ำเจ้าพระยา |
ต.บางกระบือ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี |
|
|
|
|
 |
|
สภาพภูมิประเทศของตำบลทับยา จะมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นที่ตั้งของบ้านเรือนราษฎร และเป็นพื้นที่ที่ใช้ทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ |
|
|
|
 |
|
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และฤดูหนาว
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม |
|
|
|
|
|
ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลทับยา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และอาชีพรองลงคือ เกษตรกรรม รับราชการ ค้าขาย พนักงานรัฐวิสาหกิจ
และประกอบธุรกิจส่วนตัว |
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 5,946 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 2,812 คน |
คิดเป็นร้อยละ 47.29 |

 |
หญิง จำนวน 3,134 คน |
คิดเป็นร้อยละ 52.71 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,130 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 244.99 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
1 |
บ้านบางพระนอน |
437 |
483 |
547 |
1,030 |
2 |
บ้านบางพระนอน |
355 |
477 |
533 |
1,010 |
3 |
บ้านท้ายเกาะ |
46 |
55 |
56 |
111 |
4 |
บ้านวัดใหม่ |
90 |
117 |
126 |
243 |
5 |
บ้านสวนมะม่วง |
139 |
203 |
218 |
421 |
6 |
บ้านทับยา |
281 |
372 |
378 |
750 |
7 |
บ้านท้องคุ้ง |
285 |
414 |
474 |
888 |
8 |
บ้านวัดสิงห์ |
152 |
198 |
226 |
424 |
9 |
บ้านคลองใหม่ |
79 |
138 |
145 |
283 |
10 |
บ้านแหลมทอง |
113 |
145 |
192 |
337 |
11 |
บ้านดงทอง |
65 |
88 |
99 |
187 |
12 |
บ้านดอนแฝก |
88 |
122 |
140 |
262 |
|
|
|
|
|
|
รวม |
2,130 |
2,812 |
3,134 |
5,946 |
|
|
ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภออินทร์บุรี วันที่ 16 มกราคม 2562 |
|