หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล ทับยา ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูล
หน่วยงาน
ข้อมูล
หน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหาร
บุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการ
ประชาชน
บริการ
ประชาชน
 
เทศบาลตำบลทับยา
อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
 
 
ข่าวสาร
 


 
ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคมือเท้าปาก  
 

ในช่วงเข้าหน้าฝน หลายคนมักจะได้ยินข่าวคราว “โรคมือเท้าปาก” ระบาดบ่อยครั้งโดยเฉพาะในเด็กเล็กช่วงเปิดเทอม จนหลายโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียนกันเลยทีเดียว แล้วโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไรและมีอันตรายหรือไม่

ความหมายโรคมือเท้าปาก
เกิดจากเชื้อไวรัสลำไส้หรือเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด พบได้บ่อยในเด็กทารก และเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็กสถานที่เล่นของเด็กในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด จะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้โรคเกิดประปรายตลอดปี แต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝนซึ่งอากาศเย็นและชื้น

การแพร่ติดต่อ
การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย และเกิดจากการไอจามรดกัน โดยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย สำหรับการติดเชื้อจากอุจจาระจะเกิดได้ในระยะที่เด็กมีอาการทุเลา จนกระทั่งหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน แต่จะเกิดขึ้นได้น้อยกว่า

อาการของโรค
หลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มแสดงอาการป่วย เริ่มด้วยมีไข้ตํ่าๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน มีอาการเจ็บปาก กลืนนํ้าลายไม่ได้ และไม่ยอมทานอาหารเนื่องจากมีตุ่มแดงที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม จะพบตุ่มหรือผื่นนูนสีแดงเล็ก (มักไม่คัน) ที่ฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นด้วย ตุ่มนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใส บริเวณรอบๆ อักเสบและแดง ต่อมาตุ่มจะแตกเป็นแผลหลุมตื้นๆ อาการจะทุเลาและหายเป็นปกติ ภายใน 7-10 วัน

การรักษา
- โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ในรายมีแผลที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
- ผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้และนอนพักผ่อนมากๆ ถ้าเป็นเด็กอ่อน อาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวด
- ตามปกติโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อนแต่เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอนเทอโรไวรัส 71 อาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดหากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมทานอาหารหรือนํ้าดื่ม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง ชัก ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเกิดภาวะสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือนํ้าท่วมปอด ซึ่งจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกันโรค
- โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้ล้างมือให้สะอาดด้วยนํ้าและสบู่ (ก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร ภายหลังการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม หลังการดูแลเด็กป่วย) ตัดเล็บ ให้สั้น หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน (เช่น ขวดนม แก้วนํ้า หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ) และใช้ช้อนกลาง
- สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย

วิธีการควบคุมโรค
หากพบเด็กป่วย ต้องรีบแยกเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5-7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่นสระว่ายนํ้า ตลาด และห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี ใช้ผ้าปิดจมูกปากเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสนํ้ามูก นํ้าลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

กรณีมีเด็กป่วยจำนวนมาก โรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็กต้องดำเนินการ ดังนี้
1. ปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว (ประมาณ 5–7 วัน)
2. ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรค บริเวณห้องนํ้า ห้องส้วม สระว่ายนํ้า ครัว โรงอาหาร บริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้ผงซักฟอก หรือสบู่ทำความสะอาดก่อนแล้วตามด้วยนํ้ายาฟอกขาว ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาทีแล้วล้าง/เช็ด/แช่ ด้วยนํ้าสะอาดเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
3. ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ของเด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง
4. หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึง
สำหรับเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในวัยอนุบาล ที่มักจะติดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย อย่างโรคมือเท้าปาก การฝึกวินัยล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง จะเป็นวิธีหนึ่งที่ป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสได้ดี ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองหรือคุณครู อาจลองใช้สื่อสุขศึกษาสอนล้างมือผ่านการร้องเพลง เพื่อช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้กับการล้างมือ โดยสอนให้เด็กๆ ร้องเพลง ช้าง ช้าง ช้าง จนจบ 1 รอบ ใช้เวลาเพียง 20-30 วินาที ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาล้างมือที่นานพอจะเจือจางเชื้อไวรัสได้มากที่สุด
เพียงแค่ล้างมือให้สะอาด ก็มีโอกาสที่จะปลอดภัยจากโรคมือเท้าปากได้ไม่ยาก และยังเป็นการลดการเกิดโรคติดต่อได้ทางหนึ่ง
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ สสส.

 

ข่าว ณ. วันที่ 24 มิ.ย. 2562 เวลา 11.57 น. โดย คุณ ญาณิสา ผาสุข

ผู้เข้าชม 517 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 
 
สงวนลิขสิทธิ์ © เทศบาลตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110
โทรศัพท์ : 036-814-060 โทรสาร : 036-814-041
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 เทศบาลตำบลทับยา
จำนวนผู้เข้าชม 5,709,640 เริ่มนับ 1 เม.ย. 2562 จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 092-515-0055